hi-thaksin
  • ประมวลภาพขับไล่รัฐบาลอำมาตย์
  • ทำเนียบทรราชย์ 2553
  • My Blog
  • HOME
  • ไขปริศนา..ใครเผา.?
  • การ์ตูน "เซียร์"
  • BANGKOK MASSACRES
  • Unseen Thais
  • Mark Model
  • ไว้อาลัย เสธ.แดง
  • ศอฉ. ศูนย์อับเฉามั่วรายวัน
  • ประวัติที่ภาคภูมิใจของนายกอภิสิทธิ์
  • Fact Files Stock..!
  • ความจริง ...คดีตบทรัพย์ 7.6 หมื่นลัาน
  • ไอ้ลิ้ม “เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด”
  • รวมภาพนายกทักษิณ
  • นปช.แดงทั้งแผ่นดิน
  • รำลึก ขุนพลภูพาน
  • 2 ทศวรรษ ปชป.อัปยศ
  • ทลายขบวนการกลุ่ม 16 ผลาญบีบีซี 8หมื่นล้าน
  • สุเทพงาบแฟลตตำรวจหมื่นล้าน

ข่าวเ่ด่นประจำวัน

7/22/2010

1 Comment

 
Picture

"อานันท์" จี้ยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน 16 จังหวัดที่เหลือเร็วที่สุด

22 กค. 2553 19:57 น.

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศที่มี นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานคณะกรรมการฯ ได้เรียกประชุมคณะกรรมการฯครั้งที่ 4 ที่บ้านพิษณุโลก จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้แจกเอกสารที่เป็นมติการประชุมโดยมีรายละเอียดดังนี้ ตามที่รัฐบาลชุดปัจจุบันซึ่งนำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน บัดนี้เวลาได้ล่วงเลยมานานพอสมควรแล้ว และเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองก็ได้คลี่คลายไปในทิศทางที่สงบลงและเข้าสู่ สภาวะปกติมากขึ้น คณะกรรมการปฏิรูปฯจึงห่วงใยว่าการบังคับใช้พ.ร.ก.ดังกล่าวต่อไปอาจส่งผลเสีย ต่อการสร้างความสมานฉันท์ในบ้านเมืองมากกว่าผลดี อีกทั้งไม่สู้สอดคล้องนักกับการปกครองในระบบอประชาธิปไตย ดังนั้นหลังจากได้ร่วมปรึกษาหารือและไตร่ตรองจากมุมมองต่างๆอย่างหลากหลาย คณะกรรมการปฏิรูปฯจึงเห็นพ้องที่จะเสนอแนะให้รัฐบาลพิจารณายกเลิกการบังคับ ใช้พ.ร.ก.โดยเร็ว โดยเชื่อมั่นว่าจะช่วยทำให้บรรรยากาศทางการเมืองของประเทศชาติดีขึ้น อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการแก้ไขปัญหาต่างๆของรัฐบาลเอง คณะกรรมการปฏิรูปฯตระหนักดีว่าความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยนั้น แม้จะลดระดับความรุนแรงลงแต่ก็ยังดำรงอยู่ และอาจต้องใช้เวลาสะสางต่อไป เรื่องนี้คณะกรรมการปฏิรูปฯอยากเห็นฝ่ายรัฐบาลใช้วิถีทางและมาตรการทางการ เมืองเป็นหลักการแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งการเลิกบังคับใช้พ.ร.ก.น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

ต่อมา นายอานันท์แถลงว่า การประชุมวันนี้ได้พิจารณากรอบการทำงานว่าจะอยู่ในหัวข้อใดที่มีความเดือด ร้อนมาก เพราะจุดประสงค์คือสร้างความเป็นธรรมเพื่อนำไปสู่การลดความเลื่อมล้ำในสังคม ไทย คณะกรรมการฯจึงมองว่าโจทย์ของสังคมไทยนั้น อะไรคือความไม่เป็นธรรมและมีด้านใดบ้าง เรื่องใดควรที่จะพูดก่อนหรือหลัง และบางเรื่องที่ดำเนินการไปแล้วน่าจะเสร็จใน 6 เดือนและเสนอรัฐบาลต่อไป บางเรื่องที่ต้องปรับโครงสร้างนั้นจึงต้องใช้เวลานานกว่า การประชุมครั้งที่แล้วได้หารือเรื่องพ.ร.ก.ฉบับนี้ว่าควรพิจารณาหรือไม่ เพราะคณะกรรมการฯจะแก้ปัญหาในอนาคตโดยไม่พัวพันปัญหาในอดีต แผนปรองดองแห่งชาติของนายกฯที่ทำอยู่ เช่น คอป.,การปฏิรูปสื่อ, การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการฯชุดนี้นั้น แผนปรองดองแห่งชาติทั้งหมดต้องทำในหลายด้านและมีส่วนเกื้อกูลกัน อีกทั้งพ.ร.ก.ฉบับนี้อยู่ในใจคนไทยจำนวนมากและมีความเห็นหลากหลาย บางฝ่ายมองด้านความมั่นคงของรัฐ บางฝ่ายมองด้านสิทธิมนุษยชน ฉะนั้นการแก้ไขปัญหาที่กีดขวางการสมานฉันท์นั้น ที่ประชุมจึงนำมาพิจารณาและมองทุกมุมอย่างเปิดใจกว้างรับฟังทุกความเห็นที่ ห่วงใยเรื่องนี้ หลังไตร่ตรอง พิจารณารอบคอบ บริสุทธิ์ใจ สอบถามความเห็นคณะกรรมการฯรายบุคคลจึงมีฉันทามติว่า จะเสนอนายกฯให้ยกเลิกพ.ร.ก.ฉบับนี้โดยเร็ว แม้จะบังคับรัฐบาลไม่ได้ เรื่องนี้จึงอยู่ที่นายกฯและผู้รับผิดชอบนำไปพิจารณา
Picture

สื่อต่างประเทศประโคมข่าว ฉอศ.-ดีเอสไอ "อมเพชร"

Picture
วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 14:15:00 น.  มติชนออนไลน์

ทนายแม้ว "โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม"
ออกสมุดปกขาว "การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ: ข้อเรียกร้องหาการรับผิด"


หมายเหตุ นี่คือบทคัดย่อของรายงานสมุดปกขาว "THE BANGKOK MASSACRES: A CALL FOR ACCOUNTABILITY" หรือ "การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ: ข้อเรียกร้องหาการรับผิด" ของสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff ของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม พร้อมคำนำโดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งแปลโดยเว็บไซต์ประชาไท มติชนออนไลน์เห็นว่ามีเนื้อหาน่าสนใจจึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อดังนี้

การสังหารหมู่ที่ กรุงเทพฯ : ข้อเรียกร้องหาการรับผิด

ว่าด้วยพันธกรณี ระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีภาระผูกพันในการนำตัวฆาตกรสู่กระบวนการยุติธรรม


บทคัดย่อ

เป็นเวลากว่า 4 ปีที่ประชาชนชาวไทยตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ นั่นก็คือสิทธิในการกำหนดใจตนเองผ่านการเลือกตั้งอย่างแท้จริงที่ดำรงอยู่บน ฐานของเจตจำนงของประชาชน การโจมตีระบอบประชาธิปไตยเริ่มขึ้นด้วยการวางแผนและลงมือกระทำการรัฐประหาร โดยทหารเมื่อปี 2549 ด้วยความร่วมมือกับสมาชิกองคมนตรี ผู้บัญชาการทหารของไทยล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบ ประชาธิปไตยของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งชนะการเลือกตั้งมาถึง 3 สมัยติดต่อกัน ทั้งในปี 2544, 2548 และ 2549  การรัฐประหารในปี 2549 ถือเป็นการเริ่มต้นในการพยายามที่จะฟื้นฟูอำนาจนำของกลุ่มทุนเก่า นายทหารระดับสูง ข้าราชการระดับสูง และกลุ่มองคมนตรี (“กลุ่มอำนาจเก่า”) โดยทำลายล้างพลังจากการเลือกตั้งซึ่งได้กลายเป็นสิ่งท้าทายอำนาจของพวกเขา อย่างสำคัญและเป็นประวัติการณ์ ระบอบที่การรัฐประหารตั้งขึ้นได้เข้าควบคุมหน่วยงานต่างๆของรัฐบาล ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรคเป็นเวลา 5 ปี

เมื่อพรรคที่สืบทอดจากพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง ในปลายปีพ.ศ. 2550 ก็กลับถูกศาลเฉพาะกิจ (ad hoc court) อันประกอบไปด้วยผู้พิพากษาที่แต่งตั้งโดยผู้ทำการรัฐประหารตัดสินให้ยุบพรรค นั้นอีก และเปิดทางให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ถูกกดดันให้ต้องใช้มาตรการกดขี่เพื่อรักษาฐาน อำนาจอันไม่ชอบธรรมและปราบการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ก่อตัวขึ้นเพื่อ ตอบโต้การรัฐประหารโดยทหารเมื่อปี 2549 และการรัฐประหารโดยศาลในปี 2551  หนึ่งในวิธีการกดขี่ก็คือการที่รัฐบาลได้บล็อกเว็บไซท์ประมาณ 50,000 เว็บ ปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และกักขังคนจำนวนหนึ่งภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพอันเลื่องชื่อของไทย และภายใต้พ.ร.บ.การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ที่โหดร้ายพอๆ กัน เมื่อเผชิญกับการชุมนุมประท้วงโดยมวลชนที่ท้าทายอำนาจของรัฐบาล รัฐบาลก็ได้เชื้อเชิญให้กองทัพเข้ามาจัดการ และได้ระงับเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยการนำพ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร พร้อมทั้งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งเข้มงวดยิ่งกว่า มาใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2553 เป็นต้นมา รัฐบาลทหารชุดใหม่ของประเทศในนามของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้เข้ามาปกครองประเทศโดยไม่มีมาตรการตรวจสอบความรับผิดใดๆ ภายใต้การประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ที่ถูกประกาศอย่างไม่เหมาะสม ถูกนำมาบังคับใช้อย่างไม่สอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์ และใช้อย่างต่อเนื่องไม่มีกำหนดเพื่อปิดปากการคัดค้านใดๆ ที่มีต่อรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง นี่เป็นอีกครั้งที่กลุ่มอำนาจเก่าไม่อาจปฏิเสธข้อเรียกร้องเพื่อการปกครองตน เองของประชาชนชาวไทยได้โดยไม่ต้องหันไปหาระบอบเผด็จการทหาร

ในเดือนมีนาคม 2553 เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ โดยกลุ่มคนเสื้อแดง หรือที่เรียกว่า “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) การชุมนุมของคนเสื้อแดงดำเนินมาจนถึงวันที่ 66 ในวันที่ 19 พฤษภาคม เมื่อรถหุ้มเกราะบดขยี้แนวกั้นที่ทำขึ้นชั่วคราวรอบสี่แยกราชประสงค์ใน กรุงเทพฯ และทะลวงค่ายประท้วงของคนเสื้อแดง หลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 10 เมษายน กองกำลังทหารพยายามสลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าแต่ล้มเหลว ยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย และในการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ระหว่างวันที่ 13 -19 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 55 ราย นับถึงเวลาที่บริเวณที่ชุมนุมได้ถูกเคลียร์เรียบร้อย อาคารพาณิชย์สำคัญๆ สองสามแห่งยังคงมีควันกรุ่น มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 80 คน และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแกนนำการชุมนุมมากกว่า 50 คนอาจเผชิญกับโทษประหารชีวิตจากข้อหา “ก่อการร้าย”  ผู้ชุมนุมหลายร้อยคนยังคงถูกควบคุมตัวข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักรและ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรัฐไทยนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้การชุมนุมทางการเมืองที่ชอบธรรม เป็นเรื่องผิดกฎหมาย


ประเทศไทยมีพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ และพันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ในการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นระหว่างการ ชุมนุมของคนเสื้อแดง รวมถึงต้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหารและพลเรือนซึ่งอยู่ภายใต้สายการ บังคับบัญชาสำหรับอาชญากรรมอย่างการสังหารพลเรือนกว่า 80 รายโดยพลการและตามอำเภอใจในกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ด้วย ข้อเท็จจริงต่างๆ ปรากฏอย่างชัดเจนว่ามีการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศด้วยการใช้กองกำลังทหาร อย่างเกินความจำเป็น มีการกักขังโดยพลการต่อเนื่องเป็นเวลานาน และการทำให้หายสาบสูญ และยังมีระบบการประหัตประหารทางการเมืองที่ปฏิเสธเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทาง การเมืองและในการแสดงออกของพลเมือง รวมถึงกลุ่มคนเสื้อแดง มีหลักฐานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเพียงพอที่จะดำเนินการสืบ สวนข้อเท็จจริงอย่างเป็นอิสระและเป็นกลาง เพื่อที่ผู้ที่กระทำความผิดกฎหมายอาญาระหว่างประเทศจะถูกนำตัวเข้าสู่กระบวน การยุติธรรม

นอกจากนี้ การใช้กองกำลังทหารในการปราบปรามกลุ่มคนเสื้อแดงในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ยังจัดเป็นการประทุษร้ายประชาชนพลเรือนอย่างเป็นระบบและเป็นวงกว้าง ซึ่งอาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญา ระหว่างประเทศซึ่งกำหนดให้จัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศในกรุงเฮกอีกด้วย แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมฯ แต่การโจมตีเช่นนี้ก็อาจจะเป็นเหตุเพียงพอให้ได้รับการพิจารณาให้เข้าสู่การ พิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศได้หากเป็นการดำเนินการโดยรู้ถึงการกระทำ นั้นภายใต้นโยบายที่ยอมให้เกิดหรือสนับสนุนให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตโดย ไม่จำเป็น หรือเป็นนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อโจมตีกลุ่มทางการเมืองที่เฉพาะเจาะจงกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง มีหลักฐานมากมายที่ชี้ว่าแผนต่อต้านคนเสื้อแดงที่ดำเนินมาเป็นระยะเวลา 4 ปีนั้นกำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันภายใต้นโยบายที่รับรองโดยรัฐบาล อภิสิทธิ์ และการสังหารหมู่คนเสื้อแดงที่เพิ่งผ่านมาก็เป็นเพียงการปฏิบัติตามนโยบาย นโยบายดังกล่าวครั้งล่าสุดเท่านั้น


ท้ายที่สุด การสืบสวนเหตุการณ์สังหารหมู่คนเสื้อแดงในเดือนเมษายน- พฤษภาคมที่รัฐบาลตั้งใจจะทำนั้นปรากฏแล้วว่าทั้งไม่เป็นอิสระและไม่เป็นกลาง ตามที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ ในขณะที่ประเทศไทยอาจมีความผิดเพิ่มเติมกรณีการละเมิดกติการะหว่างประเทศว่า ด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง (ICCPR) และกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ จากที่ไม่ดูแลให้มีการสืบสวนการสังหารหมู่อย่างเป็นธรรมและสมบูรณ์ การกดดันจากนานาชาติจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ และเพื่อป้องกันความพยายามในการฟอกตัวเองจากเหตุการณ์ดังกล่าวที่กำลัง ดำเนินอยู่ของรัฐบาล


ไม่เป็นที่ถกเถียงเลยว่าประเทศไทยควรจะก้าวให้พ้น ความรุนแรง และดำเนินการให้เกิดความปรองดอง ทว่าความปรองดองนั้นจำเป็นต้องเริ่มด้วยการฟื้นคืนสิทธิขั้นพื้นฐานของ ประชาชนในการปกครองตนเอง ยิ่งไปกว่านั้นความปรองดองนี้ยังต้องการความรับผิดอย่างเต็มที่ต่อการละเมิด สิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงที่กระทำไปเพื่อยับยั้งสิทธิในการปกครองตนเองนั้น กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ว่าไม่อาจยอมรับสิ่งที่น้อยไปกว่านี้ได้

คำนำ


ในปี พ.ศ.2541 ผมก่อตั้งพรรคไทยรักไทยภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยแท้ๆ ฉบับแรกของประเทศไทยเท่าที่เคยมีมา รัฐธรรมนูญฉบับที่เรียกกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนี้มอบการเป็นตัวแทน อย่างแท้จริงในกระบวนการเลือกตั้งแก่มวลชนชาวไทยเป็นครั้งแรก ในฐานะนายกรัฐมนตรี ผมพยายามดำเนินโยบายสาธารณะต่างๆ ที่ได้เสนอไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง และผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับข้อเท็จจริงที่ว่า เสียงของพวกเขาได้รับการสดับรับฟัง นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้พรรคไทยรักไทยได้รับความนิยมและแข็งแกร่ง


ในปี 2549 การรัฐประหารได้พรากสิทธิในการเลือกตั้งของเราไป อันทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่พอใจ และทำให้หลายคนลุกขึ้นมาต่อต้าน แต่แทนที่จะมีใครฟังเสียงของพวกเขา กลุ่มที่ล้มล้างรัฐบาลกลับพยายามที่จะกำจัดพวกเขา ความทะยานอยากของคนกลุ่มนี้เป็นอันตรายยิ่ง อีกทั้งยังรุกล้ำจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์


ต่อมาภายหลังข้าพเจ้าได้ขอให้สำนักกฎหมาย Amsterdam และ Peroff ศึกษากรณีของการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม 2553 ว่าเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ ผมยังได้ขอให้สำนักกฎหมายศึกษาการโจมตีอย่างเป็นระบบต่อขบวนการเคลื่อนไหว ทางการเมืองเบื้องหลังกลุ่มคนเสื้อแดง และศึกษานัยยะของเหตุการณ์เหล่านั้นภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ โลกควรจะได้เข้าใจว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นกำลังถูกทำร้ายอยู่ในประเทศ ไทย

ภายใต้บริบทเช่นนั้น ผมเชื่อว่าจะเกิดการเลือกตั้งในไม่ช้า อย่างไรก็ตามหากการเลือกตั้งหมายถึงว่าจะมีการปรองดอง การเลือกตั้งเช่นนั้นจะต้องตอบโจทย์ข้อกังวลพื้นฐานที่เกี่ยวกับการเสริม สร้างอำนาจประชาชนและการฟื้นฟูประเทศไทยให้เป็นรัฐประชาธิปไตยแบบที่ไม่กีด กันคนกลุ่มใด ในขณะเดียวกัน เราต้องปฏิเสธการใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมือง การไม่กีดกันผู้ใดนั้นโดยนิยมแล้วก็คือภาวะที่เป็นสันติสุขนั่นเอง

(ลงชื่อ) ดร. ทักษิณ ชินวัตร
Picture
1 Comment
Warszawa Fotograf link
7/28/2012 03:09:23 am

This post post produced me think. I will write something about this on my blog. .

Reply



Leave a Reply.

    Author
    hi-thaksin 2009
    บันทึกประวัติศาสตร์ และ
    ทวงคืนประชาธิปไตย

    -----------------------------

    Archives

    April 2012
    March 2012
    September 2011
    August 2011
    July 2011
    June 2011
    May 2011
    April 2011
    March 2011
    February 2011
    January 2011
    December 2010
    November 2010
    October 2010
    September 2010
    August 2010
    July 2010

    Categories

    All

    สื่อหลัก
    • Thai E-news
    • ข่าวไทยรัฐออนไลน์
    • เดลินิวส์
    • นสพ.ข่าวสด
    • นสพ.มติชน
    • บางกอกทูเดย์
    • นสพ.โลกวันนี้
    • คมชัดลึก


    Webboard - เว็บบอร์ด
    • เว็บบอร์ด Internet Freedom
    • เว็บบอร์ด smgermany
    • เว็บบอร์ด Thai People Voice
    • เว็บบอร์ด คนไทยUK
    • เว็บบอร์ด บ้านราชดำเนิน
    • เว็บบอร์ด ประชาทอล์ก-เรารักประชาไท
    • เว็บบอร์ด พันทิป ราชดำเนิน
    • เว็บบอร์ด เสรีชน
    • เว็บบอร์ด ไทยฟรีนิวส์
    TV-วิทยุถ่ายทอดสด
    • Asia Update TV - DNN
    • VOICE TV
    • TNN
    • ทีวีม้าเร็วถ่ายสดชุมนุม-speedhorseTV
    • SMGERMANY.com
    • ทีวีเสียงประชาชนถ่ายสดชุมนุม-ThaivoiceTV
    • Konthaiuk
    • Thaisvoice.blogspot
    • Dangsiam
    • norporchoreusweden
    • ฟรีไทยแลนด์ทีวี-freethailand
    • Powerdmc-พลังประชาธิปไตย
    • uddtoday
    • สถานีวิทยุกระจายเสียงเอกราษฎร์ วอชิงตัน ดีซี
    • เสวนาทีวี
    • อ้น-เอ็ม-เอ็กซ์-อุ๋ย4อ.ออนไลน์
    • แดงสยาม    
    • เว็บไซต์ทางการของนปช.แดงทั้งแผ่นดิน
    • sewanaietv
    • คณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ
    • คณิน บุญสุวรรณ
    • ดร.สุนัย จุลพงศธรแฟนคลับ
    • ฟ้าแล่บ
    • คอป.-คณะกรรมการอิสระตรวจสอบความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ
    เว็บไซต์เสื้อแดง
    • เวบไซต์อย่างเป็นทางการ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน
    • Arnaud Dubus's blog
    • Bangkok Pundit
    • Democracy 100 percent
    • Illinois Red Shirts Blog
    • Liberal Thai - ข่าว/บทความแปลไทยเพื่อปชต.
    • New Mandala - Thailand
    • Political Prisoners in Thailand
    • powerdmc-พลังประชาธิปไตย
    • Pub-Law - เครือข่ายกม.มหาชน
    • Ratchaprasong News
    • Red Democracy
    • Red Phanfa Today
    • Redsiam’s Blog
    • Reporter in Exile
    • Schönes? Thailand - นสพ.ออนไลน์ (เยอรมัน)
    • siam democracy cooperative
    • Siam Freedom Fight
    • Siam Intelligence Unit
    • Sovereign Myth
    • Thai Cables Wordpress
    • Thai Free News
    • Thai Intelligent News
    • Thai Press Log - บันทึกสื่อไทย
    • Thai Red Sweden
    • Thailand Crisis
    • The Daily Dose - ปลื้ม
    • Time up Thailand รณรงค์ระดับสากลเพื่อประชาธิปไตยในไทย
    • United Front of Democracy Against Dictatorship
    • wdpress-Political Writings on Thailand
    • กลุ่มต้านการเซ็นเซอร์ FACT
    • การ์ตูนมะนาว
    • คอลัมน์ ชาวดิน ออนเน็ต
    • ดาวเมือง ข่าวต้านเผด็จการ
    • นสพ.พีเพิล แชนเนิ่ล
    • นักข่าวหัวเห็ด
    • นิติราษฏร์
    • บล็อกกาซีน - ประชาไท
    • ประชาธรรม สถานีข่าวประชาชน
    • ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์
    • ประเทศไทย Robert Amsterdam
    • ปรีดี - พูนศุข พนมยงค์
    • ฟ้าเดียวกันออนไลน์
    • มาหาอะไร
    • รุ่งศิลา-กลอนเด็ด บทความเผ็ดมัน
    • วาทตะวัน สุพรรณเภษัช
    • วโรทาห์ - กลอน บทความ
    • ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย
    • ศูนย์ข้อมูลและเฝ้าระวังกรณีผลกระทบจาก “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” และข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้อง
    • สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์
    • หมาน้อยประชาธิปไตย
    • หมูหลุม
    • อินทรีอีสาน
    • เครือข่ายพลเมืองเน็ต Thai Netizen Network
    • โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม-Thailand Accountability Project
    เวบเสื้อแดงในต่างประเทศ
    • เสื้อแดงไทยในสวีเดน
    • แดง เดนมาร์ก
    • ขบวนการประชาธิปไตยไทยในสแกนดิเนเวีย
    • จักรภพ เพ็ญแข
    • salidausa
    • รวมแดงเฉพาะกิจ
    • เสื้อแดงสังคมนิยม(ใจ อึ๊งภากรณ์)
    • ไทยเรดเยอรมันด็อทเน็ต
    • ไทยเรดอียู(นปช.สหภาพยุโรป)
    • เวบบล็อกคนหนังสือพิมพ์ไทยในอเมริกา
    • ไทยยูเคนิวส์
    • นปช.USA
    • อาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์(ภาษาไทย)
    • อาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์(ภาษาอังกฤษ)
    • เสื้อแดงไทยในสหราชอาณาจักร
    • เสื้อแดงไทยในสหภาพยุโรป(แดงEU)
    • เสื้อแดงไทยในเยอรมนี
    • เสื้อแดงไทยในออสเตรเลีย
    • เสื้อแดงอิลลินอยส์ อเมริกา
    • เสื้อแดงL.A.อเมริกา

    RSS Feed

Powered by
✕